โครงการเพื่อนหญิงสุขภาพดี

 

โครงการเพื่อนหญิงสุขภาพดี

(Building Capacity of Women Migrant Workers on Basic Health Care, Sanitation, Environmental Health and Pollution Prevention through Volunteer System and Self-help Group)

ดำเนินการโดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ ภายใต้การสนับสนุนของ Canada Fund for Local Initiatives (CFLI)

โดยความร่วมมือจาก เทศบาลตำบลนาดีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาดี

ระยะเวลาดำเนินงาน ระหว่างเดือนมิถุนายน 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563

 

ที่มาและความสำคัญ

เทศบาลตำบลนาดีในจังหวัดสมุทรสาคร มีฐานเศรษฐกิจสำคัญประกอบด้วยด้วยโรงงานจำนวนมาก (จำนวน 616 โรงงาน) โดยโรงงานส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กถึงร้อยละ 90 แรงงานอย่างน้อย 10,000 คนส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีทักษะและกึ่งฝีมือจากประเทศเมียนมาร์ ส่วนใหญ่มีการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีความรู้ภาษาไทยจำกัด แรงงานข้ามชาติประมาณครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานหญิง และบางส่วนอายุน้อยรวมทั้งเป็นมารดาอายุระหว่าง 18-25 ปี แรงงานเหล่านี้สัมพันธ์ติดต่อโดยตรงกับมลพิษทางอุตสาหกรรมในที่ทำงาน และพักในบ้านเช่าที่มีแนวโน้มจะมีระบบสุขอนามัยต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้นจึงพบปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ โรคที่เกิดจากการทำงาน โรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่ออื่น ๆ ได้มาก นอกจากนั้น แรงงานข้ามชาติบางส่วนยังไม่มีสิทธิแรงงานด้านสุขภาพ พวกเขามีค่าใช้จ่ายสูงในการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข ในขณะที่เทศบาลตำบลนาดีไม่สามารถเรียกร้องเงินช่วยเหลือทั่วไปสำหรับประชากรที่ไม่ได้จดทะเบียนจากกระทรวงมหาดไทย ด้วยทรัพยากรและอุปสรรคด้านภาษา การสนับสนุนด้านสุขอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพให้แก่แรงงานข้ามชาติจึงมีจำกัด

โครงการเพื่อนหญิงสุขภาพดี มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาระบบอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสุขอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อม และการป้องกันมลพิษ และสามารถจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้เบื้องต้น ด้วยการสนับสนุนและเชื่อมโยงกับเทศบาลตำบลนาดี และรพ.สต.นาดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชน เทศบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระยะยาวต่อไป

วัตถุประสงค์โครงการ

  • พัฒนาระบบอาสาสมัครและกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน ด้านการดูแลสุขอนามัย อาชีวอนามัย และการป้องกันมลพิษสำหรับแรงงานข้ามชาติทั้งชายและหญิงด้วยการสนับสนุนและเชื่อมโยงกับเทศบาลตำบลนาดี และรพ.สต.นาดี
  • รณรงค์และจัดกิจกรรมสุขภาพในที่ทำงานและชุมชนที่พัก โดยการสนับสนุนด้านเทคนิคและเงินทุนสำหรับเครือข่ายอาสาสมัคร
  • พัฒนาสื่อด้านการดูแลสุขอนามัย อาชีวอนามัย และการป้องกันมลพิษสำหรับแรงงานข้ามชาติในภาษาพม่า เพื่อการรณรงค์และเผยแพร่ในช่องทางต่าง ๆ
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติผู้หญิง ในการมีส่วนร่วม เพื่อให้ผลลัพธ์ตอบสนองต่อความต้องการของผู้หญิงและเด็ก สนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพของผู้หญิง และสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ
  • จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกับแรงงานที่สนใจเป็นอาสาสมัคร ผู้นำแรงงาน หรือแรงงานที่มีศักยภาพ 25-30 คน (1 วัน) และจัดตั้งกลุ่ม self –help เพื่อนหญิงสุขภาพดี

การประชุมเชิงปฏิบัติการจะให้ความรู้และข้อมูลกับอาสาสมัครหญิงที่มีศักยภาพและผู้นำแรงงานเกี่ยวกับความสำคัญและความต้องการของอาสาสมัครและกลุ่มช่วยเหลือตนเองในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน สุขอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อมและการป้องกันมลพิษ จากผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และข้อมูลสถานการณ์จากผลการวิเคราะห์แบบสอบถาม

  • อาสาสมัครสตรีและผู้นำแรงงานหญิงประมาณ 25-30 คนจะเพิ่มความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับวิธีการเป็นอาสาสมัครและอิทธิพลและความต้องการของอาสาสมัครและกลุ่มช่วยเหลือตนเองสำหรับแรงงานหญิงอพยพ
  • จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายเพื่อนหญิงสุขภาพดีจากกลุ่มผู้สนใจเป็นอาสาสมัคร
  • พัฒนาชุดฝึกอบรมเกี่ยวกับ อาชีวอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อมและการป้องกันมลพิษ/ ทักษะการเป็นผู้นำ/ การสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาดี สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลนาดีโรงพยาบาลสมุทรสาคร กรมอนามัย และมูลนิธิบูรณนิเวศ ร่วมพัฒนาชุดฝึกอบรมเป็นภาษาพม่าครอบคลุมทั้งทฤษฎีและองค์ประกอบความรู้ที่ประยุกต์ใช้ หลักสูตรการฝึกอบรมที่มีอยู่จะถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการของอาสาสมัครแรงานหญิงเมียนมาร์

  • ชุดฝึกอบรมเกี่ยวกับ อาชีวอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อมและการป้องกันมลพิษ/ ทักษะการเป็นผู้นำ/ การสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สำหรับอาสาสมัครแรงานหญิงเมียนมาร์

 

  • จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กับกลุ่มอาสาสมัครเพื่อนหญิงสุขภาพดี 12 คน จำนวน 5 ครั้ง ในหัวข้อต่าง ๆ

จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายเพื่อนหญิงสุขภาพดี โดยผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่าง ๆ

  • อาสาสมัครหญิงประมาณ 12 คนจะเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพสุขอนามัยอนามัยสิ่งแวดล้อมและมลภาวะทักษะความเป็นผู้นำและเพิ่มขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อสร้างอิทธิพลในการเปลี่ยนพฤติกรรม
  • จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับกลุ่มอาสาสมัคร 5 ชุด

อาสาสมัครและสมาชิกเครือข่ายจำนวน 12 คนจะร่วมพัฒนาเอกสารประชาสัมพันธ์ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ เพื่อเป็นเครื่องมือในกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ความรู้

  • เอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 5 ชุดสำหรับกิจกรรมรณรงค์ของอาสาสมัคร
  • วางแผนงานกิจกรรมร่วมกับกลุ่มอาสาสมัคร และพัฒนากลไกการสนับสนุนจากหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ

วิเคราะห์สถานการณ์และความต้องการของกลุ่มแรงงานสตรีร่วมกับอาสาสมัครเครือข่ายเพื่อนหญิงสุขภาพดี เพื่อวางแผนกิจกรรม แผนงานและโครงการ รวมถึงรายละเอียดกิจกรรม ระยะเวลางบประมาณ และการแบ่งความรับผิดชอบ

  • กลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายเพื่อนหญิงสุขภาพดีมีรายละเอียดแผนงานเพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน

 

  • กลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายเพื่อนหญิงสุขภาพดีจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักในกลุ่มแรงงานสตรี โดยให้ศูนย์การเรียนรู้ผู้อพยพเป็นศูนย์รวบรวมเผยแพร่ความรู้

กลุ่มอาสาสมัครเครือข่ายเพื่อนหญิงสุขภาพดีจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างน้อย 3 ครั้ง ตามแผน โดย กิจกรรมอาจจะจัดที่ศูนย์การเรียนรู้ผู้อพยพที่วัดเทพฯ บ้านเช่า ชุมชน หรือโรงงานเป้าหมาย

 

  • อาสาสมัครในฐานะกลุ่มช่วยเหลือตนเองสามารถจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน อนามัยสิ่งแวดล้อม และการป้องกันมลพิษในกลุ่มแรงงานและเด็กผู้หญิง
  • ศูนย์การเรียนรู้ผู้อพยพที่วัดเทพฯ จะเป็นศูนย์ทรัพยากรที่รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลและจัดกิจกรรม
  • การประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนการดำเนินงาน วางแผนระบบอาสาสมัครและกลุ่มช่วยเหลือ และร่วมกันกำหนดแผนและกิจกรรมในระยะต่อไป

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนระบบอาสาสมัครและร่วมกันกำหนดแผนและกิจกรรมในปี 2563 แผนนี้จะถูกรวมเข้ากับแผนสนับสนุนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาดี สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลนาดี โรงพยาบาลสมุทรสาคร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือสามารถสนับสนุนกลุ่มได้ต่อไป

  • แผนและกิจกรรมของอาสาสมัครในปี 2563 สำหรับการดำเนินการต่อไปและกลไกการสนับสนุน