สารเคมีในวงจรผลิตภัณฑ์


 

 

 

 

 

 

 

โครงการสีทาอาคารปลอดสารตะกั่ว
(Lead Paint Elimination Project)

โครงการความร่วมมือของ 7 ประเทศในเอเชีย  ได้แก่
ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา บังคลาเทศ และเนปาล
สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (EU) และเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อการจัดการสารพิษที่ตกค้างยาวนาน (IPEN)

สารตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีพิษและไม่มีประโยชน์ใดๆ ต่อร่างกาย แตกต่างจากโลหะหนักบางชนิด ปัจจุบันมีองค์ความรู้ทางการแพทย์มากขึ้นที่ชี้ชัดว่าสารตะกั่วเป็นภัยต่อ สุขภาพ แม้ได้รับในปริมาณเพียงเล็กน้อย และล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2553 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า ไม่มีระดับสารตะกั่วในร่างกายที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี จะเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดเนื่องจากเป็นช่วงที่มีพัฒนาการทางสมองสูงและ ร่างกายของเด็กสามารถดูดซึมสารตะกั่วในสูงกว่าผู้ใหญ่

องค์การอนามัยโลกยังระบุว่า “โรคปัญญาอ่อนจากสารตะกั่ว” (lead-caused mental retardation) เป็น 1 ใน "10 โรคร้ายแรงที่สุดอันเกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม" ที่เป็นต้นเหตุให้เด็กมีความบกพร่องทางสติปัญญาสูงถึงปีละกว่า 600,000 คน ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อาศัยในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ นอกจากนี้สารตะกั่วสามารถสะสมในร่างกายของคนเป็นเวลายาวนาน ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบประสาท ไต ระบบทางเดินทางอาหาร และการสร้างเม็ดเลือด สารตะกั่วสามารถทำให้พัฒนาการทางสมองและระบบประสาทของเด็กบกพร่องไปตลอด ชีวิต คนเราสามารถได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายสองทางคือ ทางปากและการหายใจ

ปัจจุบันต้นเหตุสำคัญของปนเปื้อนสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมสูงคือ การใช้สีทาอาคารที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว แม้ว่าในปัจจุบันผู้ผลิตสีบางรายทยอยเลิกใช้สารตะกั่วในการผลิตสี แต่ยังมีการผลิตสีทาอาคารอีกจำนวนมากจากหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ที่ใช้สารตะกั่วเป็นส่วนผสมสำคัญ ผลิตภัณฑ์สีจำนวนมากเหล่านี้มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน และเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อสุขภาพและพัฒนาของเด็กทั่วโลก

ในปี พ.ศ. 2553 องค์การอนามัยโลกและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) จึงได้กำหนดเป้าหมายร่วมกันที่จะดำเนินการต่างๆ เพื่อให้นานาประเทศได้ตระหนักถึงอันตรายจากสารตะกั่วในสีทาอาคาร โดยได้ร่วมกันก่อตั้ง “เครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการเพิกถอนสารตะกั่วในสีทาอาคาร” หรือ Global Alliance to Eliminate Lead Paint (GAELP) ขึ้นมา เพื่อสร้างความร่วมมือจากรัฐบาลต่างๆ ให้มีการยกเลิกการผลิต การใช้ และการจำหน่ายสีทาอาคารที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนผสมโดยเร็วที่สุด และมีเป้าหมายที่จะให้มีการ

ขณะนี้มีประมาณ 30 ประเทศทั่วโลกที่เลิกใช้สารตะกั่วในการผลิตสี และ GAELP พยายามที่จะให้มีการเพิกถอนสารตะกั่วจากสีในทุกประเทศภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) โดยมีเป้าหมายระยะสั้นคือ ให้มีการเพิกถอนสารตะกั่วใน 70 ประเทศภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

ในส่วนของประเทศไทย มูลนิธิบูรณะนิเวศได้ร่วมกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียอีก 6 ประเทศคือ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ฟิลิปปินส์ และศรีลังการ่วมกับดำเนิน “โครงการเพิกถอนสารตะกั่วในสีเอเชีย” (Asian Lead Paint Elimination Project) ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาโดยเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเพิกถอนสารพิษ ตกค้างยาวนาน (International POPs Elimination Network - IPEN) เพื่อศึกษาและขับเคลื่อนให้มีการเพิกถอนสารตะกั่วจากสีและเพื่อสร้างการตื่น ตัวในวงกว้างแก่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจและผู้บริโภคเกี่ยวกับผลกระทบทาง สุขภาพจากสีทาอาคารที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนผสม โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2557

 
ท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ด้านล่าง และที่หน้า "เอกสาร/ข้อมูลเผยแพร่"

 

ผลการทดสอบ "ปริมาณสารตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคาร 100 ตัวอย่าง 56 ยี่ห้อ" (พ.ศ. 2558)

โดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ ร่วมกับ เครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อเพิกถอนสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม

พ.ศ. 2558

read more...

สไลด์นำเสนอประกอบการแถลงผลการศึกษา "ภัยสารตะกั่วจากสีทาบ้านและการจัดการ" (21 ต.ค. 56)

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
โรงพยาบาลรามาธิบดี

นำเสนอเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2556
ณ ห้องประชุมอาคารสถาบัน 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

read more...

โบรชัวร์ "สารตะกั่วในสี มหันตภัยใกล้ตัวเด็ก" (21 ต.ค. 56)

จัดทำโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ
(21 ตุลาคม 2556)

read more...

โปสเตอร์ "เด็กไทยต้องปลอดภัยจากพิษตะกั่ว" (21 ต.ค. 56)

จัดทำโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ
(21 ตุลาคม 2556)

read more...

บันทึกการสัมมนา สารตะกั่วในสีทาอาคาร 2556: ช่วงที่ 5 (21 ต.ค. 56)

ช่วงที่ 5: การให้ความเห็นต่อผลการศึกษา และร่วมอภิปราย

read more...

ตรวจพบสารอันตรายใน "รูบิก" และของเล่นเด็กจากพลาสติกรีไซเคิล ชี้เป็นพิษต่อสมอง-ไอคิว เร่งผลักดันทั่วโลกห้ามใช้ (19 เ.ย. 60)

กองบรรณาธิการมูลนิธิบูรณะนิเวศ 19 เมษายน 2560
มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และเครือข่ายนักวิชาการสารเคมีเผย ตรวจพบสารอันตรายในของเล่นและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลในหลายประเทศ ชี้กระทบพัฒนาการทางสมองและระบบประสาท เตรียมผลักดันมาตรการคุมเข้ม

read more...

สไลด์นำเสนอประกอบการแถลงผลการศึกษา "ปริมาณตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคาร พ.ศ. 2556" (21 ต.ค. 56)

วลัยพร มุขสุวรรณ
รองผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ และนักวิจัย

read more...

"สีปลอดสารตะกั่วใกล้เป็นจริง": แถลงข่าวผลวิจัยโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ (15 มิ.ย. 58)

เอกสารประกอบการแถลงข่าว: ผลการวิจัย "สีปลอดสารตะกั่วใกล้เป็นจริง"
โดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ

15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุม Dipak C.Jain อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมจัดโดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ปละแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จฬุาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

read more...

บันทึกการสัมมนา สารตะกั่วในสีทาอาคาร 2556: ช่วงที่ 4 (21 ต.ค. 56)

ช่วงที่ 4: การให้ความเห็นต่อผลการศึกษา และร่วมอภิปราย

read more...

บันทึกการสัมมนา สารตะกั่วในสีทาอาคาร 2556: ช่วงที่ 3 (21 ต.ค. 56)

ช่วงที่ 3: การให้ความเห็นต่อผลการศึกษา และร่วมอภิปราย

read more...

บันทึกการสัมมนา สารตะกั่วในสีทาอาคาร 2556: ช่วงที่ 2 (21 ต.ค. 56)

ช่วงที่ 2: การแถลงผลการศึกษา "ภัยสารตะกั่วจากสีทาบ้านและการจัดการ"
โดย รศ. นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความ­ปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี

read more...

สัมมนา สารตะกั่วในสีทาอาคาร 2556: ช่วงที่ 1 (21 ต.ค. 56)

ช่วงที่ 1: การแถลงผลการศึกษา "ปริมาณตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคาร พ.ศ. 2556"
โดย วลัยพร มุขสุวรรณ นักวิจัย และรองผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ

read more...

LEAD IN THAILAND’S NEW ENAMEL HOUSEHOLD PAINTS (Oct, 2013/2556)

By Ecological Alert and Recovery-Thailand (EARTH)
october, 2013

read more...