การขับเคลื่อนกฎหมาย PRTR เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Driving PRTR Law for Sustainable Development (2560)

การขับเคลื่อนกฎหมาย PRTR เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Driving PRTR Law for Sustainable Development

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง (Penchom Saetang)
มูลนิธิบูรณะนิเวศ (Ecological Alert and Recovery – Thailand)

(2560)

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม

บทคัดย่อ

          การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้มีการใช้สารเคมีในการผลิตทางอุตสาหกรรม การเกษตร และการบริการต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการปล่อยสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมตลอดเวลา พื้นที่หลายแห่งจึงกลายเป็นแหล่งกำเนิดและแหล่งรองรับสารมลพิษ  ทั้งในรูปของมลพิษทางอากาศ น้ำเสีย มลพิษในดิน และของเสียอันตรายอื่นๆ  ปัญหาดังกล่าวนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อสุขภาพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ และความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ  และก่อความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อสังคม เศรษฐกิจ ความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศโดยรวม กฎหมายและกลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ยังคงเน้นการใช้มาตรการกำกับและควบคุมที่ปลายทางเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการตรากฎหมายว่าด้วยทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR) ซึ่งจะเป็นกฎหมายนำไปสู่การพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ที่จะเป็นมาตรการสำคัญในการช่วยภาครัฐให้มีฐานข้อมูลสารมลพิษที่ครอบคลุมและเป็นระบบ เพื่อช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและความเข้มแข็งแก่หน่วยงานของรัฐในการประเมินสถานการณ์ปัญหามลพิษได้อย่างถูกต้อง มีข้อมูลที่ดีเพื่อประกอบการวางแผนการป้องกันสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และสามารถจัดการปัญหาตั้งแต่ต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  รวมทั้งเป็นการรับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลและมีส่วนร่วมในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มาตรการดังกล่าวยังจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถตรวจสอบระบบและกระบวนการผลิตของตนให้รัดกุม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินกิจการและการแข่งขันทางการค้าในระยะยาว  อีกทั้งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดความเสี่ยงภัยจากสารเคมีและสารมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุการพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติและสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม